Get Adobe Flash player

สมัครสมาชิก

สื่อการสอน

Menumultimedia

social icon

 

 

โรงเรียนสุจริต

ITA 1

ITA Jetjumnong

ITA Comment

ITA Rong

ITA QA

 

โรงเรียนคุณธรรม

moral menu

ระเบียบ ข้อบังคับ ของโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก

ว่าด้วย การแต่งกายของนักเรียน พ.ศ. 2560

 

            เพื่อให้การปฏิบัติภายในโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งนักเรียนผู้ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบนี้ และครูผู้รักษาระเบียบนี้

            อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 และข้อ 10 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2527 จึงวางระเบียบ ข้อบังคับโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกไว้ ดังนี้

ข้อ 1  ระเบียบ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ระเบียบ ข้อบังคับโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก ว่าด้วยการ แต่งกายของนักเรียน พ.ศ.2560”

ข้อ 2  ระเบียบ ข้อบังคับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3   ให้ยกเลิก “ระเบียบ ข้อบังคับโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกเดิม” โดยใช้ระเบียบ ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ 4  ระเบียบ ข้อบังคับนี้ ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก

ข้อ 5  การแต่งกายนักเรียนชาย

            นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น

1.  เสื้อ  แบบเสื้อเชิ้ตคอตั้ง แขนสั้นจากไหล่ไม่เกินข้อศอกผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่บางเกินไป ด้านหน้าเสื้อ          ผ่ากลางตลอด  มีสาบแถบที่เจาะรังดุมยาวตลอดแถบ ติดกระดุมสีขาว   ลักษณะกลมแบนเป็นช่วงระยะพองาม        มีกระเป๋าเย็บติดที่บริเวณราวนมข้างซ้าย 1 ใบ   ขนาดของเสื้อต้องพอเหมาะกับร่างกายผู้ใส่  โดยถือรอยต่อระหว่างแขนเสื้อกับตัวเสื้อ ต้องตกห่างจากไหล่ผู้ใส่ไม่เกิน 1 นิ้ว  การสวมใส่เสื้อต้องเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกง  ให้เรียบร้อย และให้เห็นเข็มขัด

2.  กางเกง  เป็นผ้าสีกากี ขาสั้นเหนือหัวเข่า  โดยพ้นจากกลางสะบ้าขึ้นไปเพียง 5 เซนติเมตร  ความกว้างของขากางเกงเมื่อดึงให้ตึงแนบเนื้อ ที่ปลายขาจะต้องมีช่องว่างไม่เกิน 10 เซนติเมตร   มีกระเป๋าด้านข้างทั้งซ้ายและขวา เป็นแนวตรงตามตะเข็บกางเกง และจะมีกระเป๋าเจาะด้านหลังแถบขวา 1 ใบ ไม่มีฝาปิดหรือไม่มีกระเป๋าด้านหลังก็ได้  ด้านหน้ากางเกงให้ผ่าตรงเป้ากางเกง แล้วติดซิปสำหรับสวมใส่และถอด  ส่วนหูกางเกงให้ติดได้เพียง  7 หู  เว้นระยะการติดโดยรอบเอวให้เท่ากัน และความกว้างของตัวหูกางเกงต้อง ไม่เกิน 1 เซนติเมตร กับ  2 มิลลิเมตร  ส่วนช่องหูกางเกงสำหรับร้อยเข็มขัดกว้างไม่เกิน 4 เซนติเมตร และแนวตะเข็บพับขากางเกงให้อยู่ในระดับ 5-6 เซนติเมตร   วัดจากปลายขากางเกงขึ้นมา

3.  เข็มขัด  ให้เป็นเข็มขัดหนังสีน้ำตาลกว้างพอเหมาะกับหูกางเกง แต่ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร      หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ชนิดหัวกลัด เจาะรูสำหรับกลัดรัดเอวได้ไม่เกิน 7 รู  ขนาดรูกลัดให้ใหญ่พอเข็มเข้าได้ ขนาดหัวเข็มกลัดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร  นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนได้

4.  ถุงเท้า  สีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ความยาวไม่เกินครึ่งขาท่อนล่าง (ครึ่งหน้าแข้ง) เวลาสวมใส่   ต้องไม่พับ หรือม้วนถุงเท้า  นักเรียนที่เป็นลูกเสือให้สวมถุงเท้าได้ในวันที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือ

5.  รองเท้า  เป็นหนัง หรือผ้าใบสีน้ำตาลตลอด แบบหุ้มส้นชนิดผูก ไม่มีลวดลาย

6.  ชื่อ - ชื่อสกุล  ให้นักเรียนปักชื่อและนามสกุล ที่เสื้อด้านซ้ายเหนือกระเป๋าเสื้อ ด้วยด้ายหรือไหมสี น้ำเงินแก่  ขนาดตัวอักษร 1-1.5 เซนติเมตร  ตัวอักษรเป็นภาษาไทย แบบตัวอักษรสุภาพ ไม่มีลวดลาย  ปักดาวโดยใช้ด้ายสีน้ำเงินแก่  เหนือชื่อนักเรียนตามระดับชั้น  คือ ม.1 ปัก 1 ดวง   ม.2 ปัก 2 ดวง  และ ม.3 ปัก 3 ดวง

7.  ทรงผม  นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นให้ตัดผมหรือไว้ผมทรงนักเรียน ด้านข้างและด้านหลังเกรียน ด้านบนยาวไม่เกิน 1/2 เซนติเมตร และด้านหน้ายาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในวันตัดผม

นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย

1.  เสื้อ  แบบเสื้อเชิ้ตคอตั้ง แขนสั้นจากไหล่ไม่เกินข้อศอกผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่บางเกินไป ด้านหน้าเสื้อ   ผ่ากลางตลอด  มีสาบแถบที่เจาะรังดุมยาวตลอดแถบ ติดกระดุมสีขาว ลักษณะกลมแบนเป็นช่วงระยะพองาม  มีกระเป๋าเย็บติดที่บริเวณราวนมข้างซ้าย 1 ใบ   ขนาดของเสื้อต้องพอเหมาะกับร่างกายผู้ใส่  โดยถือรอยต่อระหว่างแขนเสื้อกับตัวเสื้อ ต้องตกห่างจากไหล่ผู้ใส่ไม่เกิน 1 นิ้ว  การสวมใส่เสื้อต้องเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกงให้เรียบร้อย และให้เห็นเข็มขัด

2.  กางเกง  เป็นผ้าสีกรมท่า ขาสั้นเหนือหัวเข่า โดยพ้นจากกลางสะบ้าขึ้นไปเพียง 5 เซนติเมตร  ความกว้างของขากางเกงเมื่อดึงให้ตึงแนบเนื้อ ที่ปลายขาจะต้องมีช่องว่างไม่เกิน 10 เซนติเมตร  มีกระเป๋าด้านข้างทั้งซ้ายและขวา เป็นแนวตรงตามตะเข็บกางเกง และจะมีกระเป๋าเจาะด้านหลังแถบขวา 1 ใบ ไม่มีฝาปิดหรือไม่มีกระเป๋าด้านหลังก็ได้  ด้านหน้ากางเกงให้ผ่าตรงเป้ากางเกง แล้วติดซิปสำหรับสวมใส่และถอดส่วนหูกางเกงให้ติดได้เพียง  7  หู  เว้นระยะการติดโดยรอบเอวให้เท่ากัน และความกว้างของตัวหูกางเกงต้องไม่เกิน  1 เซนติเมตร กับ 2  มิลลิเมตร  ส่วนช่องหูกางเกงสำหรับร้อยเข็มขัดกว้างไม่เกิน 4 เซนติเมตร และแนวตะเข็บพับขากางเกงให้อยู่ในระดับ 5-6 เซนติเมตร  วัดจากปลายขากางเกงขึ้นมา

3.  เข็มขัด  ให้เป็นเข็มขัดหนังสีน้ำตาลกว้างพอเหมาะกับหูกางเกง แต่ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร  หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชนิดหัวกลัด เจาะรูสำหรับกลัดรัดเอวได้ไม่เกิน 7 รู ขนาดรูกลัดให้ใหญ่พอเข็มเข้าได้ ขนาดหัวเข็มกลัดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร  นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนได้

4.  ถุงเท้า  สีขาว ไม่มีลวดลาย ความยาวไม่เกินครึ่งขาท่อนล่าง (ครึ่งหน้าแข้ง) เวลาสวมใส่ต้องไม่พับ หรือม้วนถุงเท้า

5.  รองเท้า  เป็นหนัง หรือผ้าใบสีดำตลอด แบบหุ้มส้นชนิดผูก ไม่มีลวดลาย

6.  ติดเข็มตราพระราชลัญจกร  เหนืออักษรย่อของสถานศึกษา “บ.ร.ภ.” ที่เสื้อด้านขวาแนว ราวนม ปักด้วยด้าย หรือไหมสีน้ำเงินแก่   โดยมีลักษณะตัวอักษรและขนาดเป็นไปตามแบบตราประทับตัวอักษรของโรงเรียนกำหนด และเหนืออักษรย่อให้ติดเข็มตราพระราชลัญจกรของโรงเรียน

7.  ชื่อ - ชื่อสกุล  ให้นักเรียนปักชื่อและนามสกุล ที่เสื้อด้านซ้ายเหนือกระเป๋าเสื้อ ด้วยด้ายหรือไหม  สีน้ำเงินแก่ ขนาดตัวอักษร 1-1.5 เซนติเมตร  ตัวอักษรเป็นภาษาไทย แบบตัวอักษรสุภาพ ไม่มีลวดลาย ปักดาว  โดยใช้ด้ายสีน้ำเงินแก่ เหนือชื่อนักเรียนตามระดับชั้น คือ ม.4 ปัก 1 ดวง  ม.5 ปัก 2 ดวง และ ม.6 ปัก 3 ดวง

8.  ทรงผม  นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลายให้ตัดผมหรือไว้ผมทรงนักเรียน ด้านข้างและด้านหลังเกรียน ด้านบนยาวไม่เกิน 1/2 เซนติเมตร และด้านหน้ายาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในวันตัดผม

            ข้อบังคับเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนชาย ให้ถือวันที่ทางโรงเรียนกำหนดให้มีการตัดผม

ข้อ 6  การแต่งกายนักเรียนหญิง

            นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น

  1.   ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยง ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้า และเนื้อผ้าต้องไม่บาง เป็นแบบคอปกกะลาสี ผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกะลาสี สีดำหรือสีกรมท่า แขนสั้น ปลายแขนจับจีบ รัดแขน และชายเสื้อปล่อยคลุมกระโปรง   ส่วนเอวมีกระเป๋าเย็บติดบริเวณชายเสื้อด้านขวา 1 ใบ ขนาด 9 ´ 10 เซนติเมตร  ขนาดของเสื้อต้องไม่ใหญ่เกินไป ให้ถือรอยเย็บระหว่างแขนเสื้อกับตัวเสื้อเป็นเกณฑ์ โดยรอยเย็บดังกล่าวตกลงจากไหล่ของผู้ใส่ไม่เกิน 1 นิ้ว และ        ร่องคอเสื้อด้านหน้าต้องไม่ยาวลงมาจนน่าเกลียด

2.  กระโปรง  สีกรมท่าหรือสีดำล้วน ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้าและเป็นผ้าอย่างหนา ด้านหน้าและด้านหลัง มีกลีบกระโปรง  โดยจับกลีบกระโปรงตั้งแต่ขอบกระโปรงลงมา และให้มีกลีบกระโปรงด้านละ 6 กลีบ และแบ่งเป็นข้างละ 3 กลีบ  ความยาวกระโปรงให้คลุมเข่าลงไปแต่ไม่เกินครึ่งท่อนขาล่าง หรือครึ่งหน้าแข้ง

3.  ถุงเท้า  ใช้สีขาวเกลี้ยง ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้า ความยาวของถุงเท้าจากตาตุ่มขึ้นไปไม่เกิน  15 เซนติเมตร  แต่เวลาสวมใส่ให้พับลงมาให้เรียบร้อย

4.  รองเท้า  เป็นรองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ หัวมน ผิวเรียบไม่มีลวดลาย มีสายรัดหลังเท้าสีเดียวกับรองเท้า

5.  เครื่องหมาย  ให้มีเครื่องหมายสถานศึกษาเป็นชื่ออักษรย่อของสถานศึกษา “บ.ร.ภ.” ปักไว้ที่เสื้อด้านขวา  ระดับอกตอนบน ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินแก่  โดยมีลักษณะตัวอักษรและขนาดเป็นไปตามแบบ ตราประทับตัวอักษรของโรงเรียนกำหนด

6.  ชื่อ-ชื่อสกุล  ให้นักเรียนปักชื่อและนามสกุล ที่เสื้อด้านซ้าย ระดับอกตอนบน ด้วยด้ายหรือไหม สีน้ำเงินแก่  ขนาดตัวอักษร 1-1.5 เซนติเมตร  ตัวอักษรเป็นภาษาไทย แบบตัวอักษรสุภาพ ไม่มีลวดลาย  ปักดาว โดยใช้ด้ายสีน้ำเงินแก่ เหนือชื่อนักเรียนตามระดับชั้น คือ ม.1 ปัก 1 ดวง  ม.2 ปัก 2 ดวง และ ม.3 ปัก 3 ดวง

7.  ทรงผม  ตัดผมสั้น โดยตัดตรงเสมอกันโดยรอบศีรษะ ระดับบริเวณต่ำกว่าใบหูตอนล่างไม่เกิน 1 เซนติเมตร  ไม่ตัดหรือซอยผม ไม่เปลี่ยนสีผมจากสีดำเป็นสีอื่นๆ ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย

            นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลาย

1.  เสื้อ  ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยง ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้า และเนื้อผ้าต้องไม่บาง เป็นแบบเสื้อเชิ้ต แขนสั้น ปลายแขนจับจีบ รัดแขน ยาวไม่เกินข้อศอก และให้สวมกระโปรงทับชายเสื้อให้เรียบร้อย ขนาดของเสื้อ   ต้องไม่ใหญ่เกินไป ให้ถือรอยเย็บระหว่างแขนเสื้อกับตัวเสื้อเป็นเกณฑ์   โดยรอยเย็บดังกล่าวตกลงจากไหล่   ของผู้ใส่ไม่เกิน 1 นิ้ว และกระดุมเม็ดบนจะต้องติดไม่ต่ำจนน่าเกลียด

2.  กระโปรง  สีกรมท่าหรือสีดำล้วน ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้าและเป็นผ้าอย่างหนา ด้านหน้าและด้านหลังมีกลีบกระโปรง โดยจับกลีบกระโปรงตั้งแต่ขอบกระโปรงลงมา และให้มีกลีบกระโปรงด้านละ 6 กลีบ และแบ่งเป็นข้างละ 3 กลีบ  ความยาวกระโปรงให้คลุมเข่าลงไปแต่ไม่เกินครึ่งท่อนขาล่าง หรือครึ่งหน้าแข้ง

3.  ถุงเท้า  ใช้สีขาวเกลี้ยง ไม่มีลวดลายในเนื้อผ้า ความยาวของถุงเท้าจากตาตุ่มขึ้นไปไม่เกิน 15 เซนติเมตร  แต่เวลาสวมใส่ให้พับลงมาให้เรียบร้อย

4.  รองเท้า  เป็นรองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ หัวมน ผิวเรียบไม่มีลวดลาย มีสายรัดหลังเท้าสีเดียวกับรองเท้า

5.  เครื่องหมาย  ให้มีเครื่องหมายสถานศึกษาเป็นชื่ออักษรย่อของสถานศึกษา “บ.ร.ภ.” ปักไว้ที่เสื้อด้านขวา ระดับอกตอนบน ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินแก่  โดยมีลักษณะตัวอักษรและขนาดเป็นไปตามแบบ ตราประทับตัวอักษรของโรงเรียนกำหนด และเหนืออักษรย่อให้ติดเข็มตราพระราชลัญจกรของโรงเรียน

6.  ชื่อ-ชื่อสกุล  ให้นักเรียนปักชื่อและนามสกุล ที่เสื้อด้านซ้าย ระดับเดียวกับชื่ออักษรของโรงเรียน ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงินแก่ ขนาดตัวอักษร 1-1.5 เซนติเมตร  ตัวอักษรเป็นภาษาไทย  แบบตัวอักษรสุภาพ ไม่มีลวดลาย  ปักดาว โดยใช้ด้ายสีน้ำเงินแก่ เหนือชื่อนักเรียนตามระดับชั้น คือ ม.4  ปัก  1 ดวง  ม.5 ปัก 2 ดวง และ  ม.6 ปัก 3 ดวง

7.  ทรงผม  ตัดผมสั้น โดยตัดตรงเสมอกันโดยรอบศีรษะ ระดับบริเวณต่ำกว่าใบหูตอนล่างไม่เกิน  1 นิ้ว หรือไว้ผมยาวเลยต้นคอต้องรวบให้เรียบร้อยในระดับต้นคอ  โดยใช้ที่รัดผมสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม หรือสีกรมท่า ไม่ตัดหรือซอยผม ไม่เปลี่ยนสีผมจากสีดำเป็นสีอื่นๆ ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย

8.  เข็มขัด  ให้เป็นเข็มขัดหนังสีดำ กว้างประมาณ 3 - 3.5 เซนติเมตร  หัวเข็มขัดเป็นโลหะหรือพลาสติกตราพระราชลัญจกรชนิดหัวกลัด เจาะรูสำหรับกลัดรัดเอวได้ไม่เกิน 7 รู ขนาดรูกลัดให้ใหญ่พอเข็มเข้าได้ ขนาดหัวเข็มกลัดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และขนาดของหัวเข็มขัดด้านบนและด้านล่าง กว้าง 4 - 4.5 เซนติเมตร ส่วนด้านข้างยาว 5-6 เซนติเมตร

 

ข้อ 7  การแต่งกายที่ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน

        การแต่งกายชุดพลศึกษา

         ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง)

1. เสื้อ  เป็นเสื้อโปโลสีน้ำเงิน มีตราโรงเรียน และชื่อโรงเรียนบนกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย และปักชื่อของนักเรียนด้านขวาของเสื้อ ด้วยด้ายหรือไหมสีเหลือง ให้อยู่ในระดับแนวเหนือกระเป๋า ปักดาวเหนือชื่อนักเรียน ตามระดับชั้น คือ ม.1 ปัก 1 ดวง  ม.2 ปัก 2 ดวง และ ม.3 ปัก 3 ดวง

2. กางเกง  เป็นกางเกงวอร์มขายาวสีน้ำเงินแถบเหลืองตามที่โรงเรียนกำหนด

3. ถุงเท้า  ใช้ถุงเท้านักเรียนตามปกติ

4. รองเท้า นักเรียนชาย ให้ใช้รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลล้วน หุ้มส้น ไม่มีลวดลาย แบบมีเชือกผูกรองเท้า

5. รองเท้า นักเรียนหญิง ให้ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวล้วน หุ้มส้น ไม่มีลวดลาย แบบมีเชือกผูกรองเท้า

          ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง)

1.  เสื้อ  เป็นเสื้อโปโลสีเหลือง มีตราโรงเรียน และชื่อโรงเรียนบนกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย และปักชื่อของนักเรียนด้านขวาของเสื้อ ด้วยด้ายหรือไหมสีน้ำเงิน ให้อยู่ในระดับแนวเหนือกระเป๋า ปักดาวเหนือชื่อนักเรียน ตามระดับชั้น คือ ม.4 ปัก 1 ดวง  ม.5 ปัก 2 ดวง และ ม.6 ปัก 3 ดวง

2.  กางเกง  เป็นกางเกงวอร์มขายาวสีน้ำเงินแถบเหลืองตามที่โรงเรียนกำหนด

3.  ถุงเท้า  ใช้ถุงเท้านักเรียนตามปกติ

4.  รองเท้า นักเรียนชาย ให้ใช้รองเท้าผ้าใบสีดำล้วน หุ้มส้น ไม่มีลวดลาย แบบมีเชือกผูกรองเท้า

5.  รองเท้า นักเรียนหญิง ให้ใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวล้วน หุ้มส้น ไม่มีลวดลาย แบบมีเชือกผูกรองเท้า

            การแต่งกายชุดพลศึกษานั้น ให้แต่งได้เฉพาะวันที่มีเรียนพลศึกษา และวันพฤหัสบดี

           การแต่งกายเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี

           การแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี ให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ

           การแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร

            การแต่งกายชุดเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหาร ให้แต่งกายเป็นไปตามข้อบังคับของกรมการรักษาดินแดน

            การแต่งกายเครื่องแบบอื่นๆ

            การแต่งกายชุดเครื่องแบบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้  หากเครื่องแต่งกายมีระเบียบระบุถึงการแต่งกายไว้ ให้ยึดหลักของระเบียบการแต่งกายนั้น

            กระเป๋าหนังสือ

  1. เป็นกระเป๋าสะพายหลัง สีกรมท่า ตามแบบของโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก
  2. นักเรียนทุกคนต้องนำกระเป๋า และอุปกรณ์การเรียนมาโรงเรียน และนำกลับบ้านทุกวัน

            ข้อ 8  เครื่องอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการแต่งกาย

            แว่นตา  ใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตาหรือสายตาสั้น เป็นแว่นสายตาที่สุภาพเรียบร้อย กรอบแว่นไม่มีสีสันลวดลายฉูดฉาด ให้เป็นสีโลหะ หรือสีสุภาพ

            นาฬิกา  สามารถสวมใส่ได้ แต่ต้องไม่ใช้โลหะทองคำเป็นตัวเรือน และสายของนาฬิกาและ        ตัวนาฬิกาต้องไม่มีสีสันลวดลายฉูดฉาด ให้เป็นสีโลหะหรือสีสุภาพ

            โบว์ กิ๊บ หรือที่รัดผม  ของนักเรียนหญิง ให้ใช้สีสุภาพดังนี้ สีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่า และสีของโลหะ ที่ไม่ใช่ทองคำ  ขนาดของโบว์ต้องไม่ใหญ่เกิน 4 ´ 8 เซนติเมตร  ขนาดของกิ๊บต้องไม่ใหญ่เกิน 1 ´ 5 เซนติเมตร  ที่รัดผมกว้าง 3 มิลลิเมตร  ยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร

            สร้อย  สามารถสวมใส่ได้ แต่ต้องเป็นสร้อยห้อยพระเครื่องซึ่งเป็นโลหะ และไม่ใช่ทองคำ หรือให้ใช้เชือกร่มสีดำ  ขนาดความยาวของสร้อยไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร และมีความกว้างหรือความหนาของสายสร้อยไม่เกิน 3 มิลลิเมตร  ซึ่งขณะสวมใส่ต้องอยู่ในเสื้อนักเรียน หรือเสื้อเครื่องแบบอื่นๆ ในตำแหน่งที่   ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้

            บรรดาเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบนี้  ห้ามนำมาใช้เพื่อการแต่งกาย

            ข้อ 9   ให้รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารงานบุคคล รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

 

 

Copyright © 2017. All Rights Reserved.

โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก 567 หมู่1 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย  จังหวัดกาญจนบุรี 71160